วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดบึงกาฬ

 แหล่งท่องเที่ยวอีกที่หนึ่งที่จะแน่ะนำให้เพื่อนๆรู้จักกันค่ะคือ

จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดที่ 77 ของไทย

จังหวัดบึงกาฬ ห่างจาก จังหวัดหนองคาย 145 กม. และติดกับ จังหวัดนครพนม มีการปลูกยางมากที่สุด รายได้ดีประชากรดีมาก
จังหวัดบึงกาฬ แยกออกจาก จ.หนองคาย เนื่องจากมีคุณสมบัติครบถ้วนในการเป็นจังหวัดใหม่คือ มี 8 อำเภอประกอบด้วย อ.บึงกาฬ อ.เซกา อ.โซ่พิสัย อ.พรเจริญ อ.ปากคาด อ.บึงโขงหลง อ.ศรีวิไล และ อ.บุ่งคล้า มีประชากรเกือบ 4 แสนคน   มีความพร้อมเรื่องสาธารณูปโภคทั้งศาลากลาง อำเภอ สำนักงานอัยการ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ แขวงการทาง สถานีตำรวจน้ำ

เป็นจังหวัดที่มีสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ แวดล้อมไปด้วยภูเขา น้ำตก ที่สวยงาม เช่น น้ำตกเจ็ดสี, น้ำตกตากชะแนน ที่อยู่ภายในอุทยานแห่งชาติภูวัว อีกทั้งอำเภอบึงกาฬยังมีส่วนที่ติดกับแม่น้ำโขง ตลอดริมแนวชายฝั่ง

จังหวัดบึงกาฬ ภูมิอากาศที่จังหวัดบึงกาฬที่นี้ดีมาก เพราะได้ผลจากแม่น้ำโขงทำให้ไม่ร้อนมากในช่วงหน้าร้อน หน้าหนาวก็อากาศดีน่าท่องเที่ยวและพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง สังเกตุได้จากที่พักบึงกาฬ จะเต็มอยู่ตลอดเวลาในช่วงเทศกาลสำคัญๆ

ประเพณีวัฒนธรรมของจังหวัดบึงกาฬ ได้รับการสืบทอดมาอย่างรุ่นต่อรุ่นอย่างไม่ขาดหาย เพราะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างดี เทศกาลต่างๆ ของจังหวัดบึงกาฬ เช่น เทศกาลบุญบั้งไฟ, เทศกาลสงกรานต์

อัธยาศัยของคนจังหวัดบึงกาฬนั้นเป็นกันเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อาหารการกินนั้นจะอยู่ในพวกประเภทของปลา เพราะอยู่ติดแม่น้ำโขงทำให้สามารถหาปลาได้อย่างง่ายดาย


สถานที่สำคัญของจังหวัดบึงกาฬ เจ้าแม่สองนาง หลวงพ่อใหญ่ วัดโพธาราม หนองกุดทิง(พื้นที่ชุ่มน้ำ) หาดทรายบึงกาฬ โรงเรียนบึงกาฬ วัดอาฮง องการบริหารส่วนตำบลบึงกาฬ โรงพยาบาลบึงกาฬ ศาลจังหวัดบึงกาฬ

                                                                  ภาพริมฝั่งโขง บึงกาฬ


ประวัติความเป็นมาอำเภอบึงกาฬ
อำเภอบึงกาฬ เดิมเป็นตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอชัยบุรี จังหวัดนครพนม  ซึ่งมีที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ที่บริเวณปากน้ำสงคราม ต่อมาไม่ทราบชัดว่าปีใด ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บึงกาญจน์ริมฝั่ง  ตรงข้ามเมืองปากซัน  แขวงบลิคำไซ  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปี   พ.ศ.2459  ทางราชการ ก่อสร้าง ที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่และโอนการปกครองอำเภอชัยบุรีมาขึ้นกับจังหวัดหนองคาย  ส่วนบริเวณที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอชัยบุรีเดิมนั้น ทางราชการยุบมาเป็นตำบลอยู่ในเขตการปกครอง ของอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
     
ปี พ.ศ.2475 ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่งเดินทางมาตรวจราชการที่อำเภอชัยบุรี พบว่า หมู่บ้านบึงกาญจน์ มีหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง  กว้างประมาณ 160 เมตร  ยาวประมาณ 3,000 เมตร ชาวบ้าน เรียก "บึงกาญจน์" เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป  ทางการจึงเปลี่ยนชื่ออำเภอชัยบุรีเป็น "อำเภอบึงกาญจน์" ตั้งแต่นั้นมา


ต่อมาปี พ.ศ.2477 ทางการได้เปลี่ยนชื่อ อำเภอบึงกาญจน์ เป็น"อำเภอบึงกาฬ" เพื่อความสะดวกและ เข้าใจง่าย   ต่อมาได้แยกอำเภอเซกา  อำเภอพรเจริญ  อำเภอศรีวิไล  และ อำเภอบุ่งคล้า ออกจากอำเภอ บึงกาฬ  ตามลำดับ

ปัจจุบันที่ว่าการอำเภอบึงกาฬ   ตั้งอยู่ที่บ้านบึงกาฬ  หมู่ที่ 1   ตำบลบึงกาฬ   ห่างจากตัวจังหวัด ไปทางทิศตะวันออกประมาณ  136  กิโลเมตร   มีพื้นที่ปกครองทั้งหมด  673.262   ตารางกิโลเมตร โดย แบ่งการปกครองออกเป็น  2 ส่วน  ได้แก่  การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 121 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลบึงกาฬ ตำบลวิศิษฐ์ ตำบลไคสี  ตำบลหอคำ  ตำบลหนองเลิง  ตำบลหนองเข็ง ตำบลโนนสมบูรณ์ ตำบลนาสวรรค์ ตำบลคำนาดี ตำบลโคกก่อง ตำบลชัยพร และตำบลโป่งเปือย

การปกครองส่วนท้องถิ่น  ประกอบด้วยสุขาภิบาล  1  แห่ง  คือ สุขาภิบาลบึงกาฬ มีองค์การบริหาร ส่วนตำบล (อบต.) ครบทุกตำบล ยกเว้นตำบลโป่งเปือยที่ยังเป็นสภาตำบล รอการประกาศยกฐานะขึ้นเป็น อบต. ในอนาคต


คำขวัญประจำอำเภอบึงกาฬ
สองนางศาลศักดิ์สิทธ์     อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่
แหล่งน้ำใสหนองกุดทิง   สุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว
หาดทรายขาวเป็นสง่า    น่าทัศนาแก่งอาฮง
งามน้ำโขงที่บึงกาฬ       สุขสำราญที่ได้ยล
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอบึงกาฬอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของการปกครองจังหวัดหนองคาย
(ห่างจากจังหวัด 136 กิโลเมตร) มีพื้นที่ 833.85 ตารางกิโลเมตร

อาณาเขต
ทิศเหนือ               ติดแม่น้ำโขง(ตรงข้ามเมืองปากซัน สปป.ลาว)
ทิศใต้                   ติดอำเภอโซ่พิสัย, ศรีวิไล และอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย
ทิศตะวันออก        ติดอำเภอบุ่งคล้า จังหวัดหนองคาย
ทิศตะวันตก          ติดอำเภอปากคาด จังหวัดหนองคาย

สภาพภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม (ร้อน) มี 3 ฤดู

ขอขอบคุณแหล่งที่มาจาก http://www.vcharkarn.com/varticle/41242


สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดบึงกาฬที่จะแน่ะนำนี้คือ ภูทอก และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว
สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดบึงกาฬ ภูทอก
 

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว
ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอเซกา และอำเภอบึงโขงหลง มีน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง


ข้อมูลรูปภาพจาก Clipmass.com
การเดินทางไป สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดบึงกาฬ มีดังนี้
เพื่อนสามารถเดินด้วยรถบัสดังต่อไปนี้ค่ะ
ขึ้นที่หมอชิตนะคะ
รถปรับอากาศ บริษัท 407 พัฒนา
รถปรับอากาศ บริษัท แอร์อุดร
สาย 943 (กรุงเทพ-อุดร-หนองคาย-บึงกาฬ)
สาย 79 (กรุงเทพ-กุมภวาปี-บ้านดุง-บึงกาฬ)
สาย 943 (กรุงเทพ-อุดร-หนองคาย-บึงกาฬ)
สาย 79 (กรุงเทพ-กุมภวาปี-บ้านดุง-บึงกาฬ)



วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำแหล่งท่องเที่ยว




สวัสดีค่ะผู้เยี่ยมชมทุกท่านยินดีต้อนรับสู่บล็อกของเราค่ะ




วันนี้จะมาแน่ะนำสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรีค่ะ




อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ


ครอบคลุมพื้นที่ อำเภอมะขาม และกิ่ง อำเภอเขาคิชฌกูฏ อุทยานแห่งนี้เป็นต้นน้ำสำคัญของแม่น้ำจันทบุรี สภาพป่าภายในบริเวณนี้มีทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าไม้ผลัดใบ มีสมุนไพรและกล้วยไม้นานาชนิด รวมทั้งพันธุ์ไม้หายาก คือ ไม้กฤษณา และเนื่องจากเป็นป่าที่อยู่ในเขตเทือกเขาสูงชัน จึงมีสัตว์ป่าและนกชนิดต่าง ๆ ชุกชุม
การเดินทาง : รถยนต์ส่วนตัว จากสี่แยกเขาไร่ยา ตามทางหลวงหมายเลข 3249 ระยะทาง 22 กิโลเมตร จะผ่านตลาดกระทิง มีแยกขวามือจะผ่านทางเข้าค่ายลูกเสือกระทิง ตรงไปจะถึงที่ทำการ อุทยานแห่งชาติประมาณ 2 กิโลเมตรจะถึงน้ำตก
รถสองแถว จากตัวเมืองมีรถสองแถวเล็กสายจันทบุรี-กิ่ง อำเภอเขาคิชฌกูฏ-จันทเขลม ท่ารถอยู่บริเวณข้างที่ทำการ ปณ.จันทบุรี ถนนเบญจมราชูทิศ หัวถนนศรีรองเมือง 2 ที่มุ่งหน้าไปยังวงเวียนน้ำพุ ค่ารถ 30 บาท เมื่อถึงตลาดกิ่ง อ.เขาคิชฌกูฏ หรือที่เรียกว่า ตลาดกระทิง สามารถหารถเหมาให้ไปส่งที่ทำการ อุทยานแห่งชาติได้ ค่าเช่าเหมา 50 - 70 บาท แล้วแต่จำนวนคน

น้ำตกเขาสอยดาว

อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว ตั้งอยู่ก่อนถึง อำเภอสอยดาว 2 กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข 317 สภาพภูมิประเทศโดยรอบเป็นภูเขาสลับซับซ้อน มียอดเขาสูงสุดคือ ยอดเขาสอยดาวใต้ สูง 1,675 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ปกคลุมด้วยป่าไม้เบญจพรรณและป่าเต็งรังที่มีสมุนไพรหลายชนิดขึ้นกระจายอยู่ทั่วไป น้ำตกแห่งนี้มีความสูง 16 ชั้น นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นน้ำตกด้วยตนเองถึงชั้นที่ 9 ระยะทาง 2.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินขึ้นประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที ส่วนชั้นที่ 10 - 16 ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง ใช้เวลาเดินอีก 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติและค่ายพักแรม สำหรับเยาวชน และกลุ่มคณะที่สนใจ มีบ้านรับรอง 4 หลัง ขนาด 4 - 60 คน
การเดินทาง : ห่างจากจันทบุรี 70 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมาย




สะพานเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน (อ่าวคุ้งกระเบน)


ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยงานป่าไม้ ได้เล็งเห็นความสำคัญของป่าชายเลนที่มีต่อระบบนิเวศวิทยาและการปลูกจิตสำนึก ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน จึงได้จัดสร้างสะพานทางเดินทอดตัวคดเคี้ยวไปตามแนวป่าชายเลนบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน ซึ่งจะผ่านพื้นที่ปลูกป่าชายเลนเดิมที่สมบูรณ์และพื้นที่ฟื้นฟู โดยผสมผสานระหว่างการปลูกป่าและการเลี้ยงปลากะพงขาว ตลอดเส้นทางเดินมีศาลาสื่อความหมายอธิบายให้ทราบถึงประโยชน์ระบบนิเวศวิทยา ห่วงโซ่อาหารในแง่มุมต่างๆ ของป่าชายเลนเส้นทางเดินดังกล่าวมีความยาวประมาณ 1,600 เมตร




หาดแหลมเสด็จ


เป็นหาดทรายละเอียดสีขาวหม่น มีความยาว 2 - 3 กิโลเมตร ร่มรื่นไปด้วยเงาของสนทะเลและพันธุ์ไม้ชายหาดนานาชนิด ในช่วงเดือน พฤศจิกายน - เมษายน คลื่นลมสงบ เมื่อเข้าสู่ฤดูมรสุม น้ำทะเลค่อนข้างขุ่นและคลื่นแรง ไม่เหมาะจะเล่นน้ำ มีร้านอาหารทะเลตั้งเรียงรายตลอดชายหาด มีห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ และสถานที่สำหรับตั้งแคมป์พักแรมไว้คอยบริการ ติดต่อสำนักงานป่าไม้ ฝั่งตรงข้ามถนนเลียบชายหาด นอกจากนี้ยังมีพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่นำอาหารและเครื่องดื่มมาจำหน่าย แก่นักท่องเที่ยวตลอดทั้งวัน

 




หาดเจ้าหลาว 


เป็นหาดทรายละเอียดสีแดง ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของหาดทรายเมืองจันท์ เมื่อน้ำลงแนวสันทรายจะโผล่พ้นน้ำ ทอดเป็นแนวยาวไปจดเขตห้ามล่าสัตว์ป่าคุ้งกระเบน ส่วนชายหาดด้านตะวันออกเป็นแหลมหิน บริเวณสันเขาหาดเจ้าหลาวเป็นจุดชมทิวทัศน์ทะเลที่น่าชม หรือจะเดินเล่นตามเนินเขา หรือจะมานั่งตกปลาเก๋าก็ได้ จากหาดนี้ไปไม่ไกล สามารถออกไปดำน้ำชมปะการังน้ำตื้นได้ หาดเจ้าหลาวเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว เพราะมีทั้งที่พักและร้านอาหารทะเล ขึ้นชื่อในความสดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นปูดำ หมึก ปลากะรัง ปลากะพง

การเดินทาง :
การเดินทาง ไปยังหาดคุ้งวิมาน หาดแหลมเสด็จ หาดคุ้งกระเบนและหาดเจ้าหลาว สามารถเข้าถึงได้ 2 เส้นทางคือ จากถนนสุขุมวิท ก่อนถึงตัวเมืองจันทบุรีประมาณ 30 กิโลเมตร ถึงกิโลเมตรที่ 301 มีทางแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 3399 และจะพบป้ายทางแยกหาดต่าง ๆ เป็นระยะ อีกเส้นทางหนึ่งคือ จากตัวเมืองเดินทางไปยังอำเภอท่าใหม่ ระยะทาง 17 กิโลเมตร ต่อด้วยเส้นทางที่ไปเขื่อนวังโตนด และเลยไปจนถึงชายทะเลได้เช่นกัน



อ่าวคุ้งกระเบน  

อ่าวคุ้งกระเบนยังเป็นที่ตั้งของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีหน้าที่ศึกษาค้นคว้าและวิจัย เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดจันทบุรี โครงการหนึ่งที่ศูนย์ทำขึ้นเพื่อให้ประชาชนที่สนใจเข้ามาศึกษาสภาพธรรมชาติ ก่อให้เกิดความเข้าใจระบบนิเวศในป่าชายเลน และรู้จักใช้ทรัพยากรเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
การเดินทาง : จากถนนสุขุมวิท กิโลเมตรที่ 301 เลี้ยวซ้ายไปอีก 18 กิโลเมตร 




ชายหาดแหลมสิงห์

ตั้งอยู่ที่ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ 30 กิโลเมตร เป็นชายหาดปากอ่าวที่แม่น้ำจันทบุรีไหลมาออกอ่าวไทย ร่มรื่นไปด้วยทิวสนยาวไปตามแนวชายหาดมีที่นั่งพักผ่อน พร้อมทั้งร้านจำหน่ายอาหารตั้งเรียงรายอยู่ริมหาดและมีบริการด้านที่พัก สำหรับนักท่องเที่ยว จากบริเวณหาดมองออกไปจะเห็นเกาะจุฬาและเขาแหลมสิงห์อยู่เบื้องหน้า
การเดินทาง : มี 2 เส้นทางคือ ลงเรือข้ามฟาก จากอำเภอแหลมสิงห์ ขึ้นที่หาดกระทิงแล้วเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 400 เมตร ก็จะถึงวนอุทยานฯ แต่เส้นทางที่สะดวกคือ เส้นทางท่าใหม่-บางกะไชย ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร เส้นทางนี้จะผ่านวัดเขาแหลมสิงห์ ตัดขึ้นภูเขาไปจนถึงที่ทำการฯ





หาดคุ้งวิมาน 
 

เป็นชายหาดที่เงียบสงบและมีทัศนียภาพที่สวยงาม อยู่ที่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ริมชายหาดมีที่พักและร้านค้าไว้คอยบริการนักท่องเที่ยว ช่วงเวลาเหมาะแก่การมาพักผ่อนคือช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน – เดือนพฤษภาคม

การเดินทาง : ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ 35 กิโลเมตร



คลองโป่งน้ำร้อน




 ล่องแก่งโป่งน้ำร้อน เป็นแนวล่องแก่งธรรมชาติที่สวยงาม มีระยะทาง 12 กิโลเมตร ไปตามแนวคลองโป่งน้ำร้อนที่มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาเครือหวาย เป็นลำคลองที่ไหลคดเคี้ยวผ่านเกาะแก่งและโขดหินธรรมชาติน้อยใหญ่ไปตามร่องเนินเขา ลงสู่ประเทศกัมพูชา เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการผจญภัยและเริ่มต้นฝึกการล่องแก่ง ความยากของแก่งอยู่ในระดับ 2-3 ช่วงที่เหมาะสำหรับการล่องแก่งโป่งน้ำร้อนคือ ฤดูฝน (เดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน)
การเดินทาง : จากอำเภอโป่งน้ำร้อน 22 กิโลเมตร รถยนต์ส่วนตัว จาก จ.จันทบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 317 จันทบุรี-วังน้ำเย็น เมื่อถึง อ.โป่งน้ำร้อน ตรงสามแยกทับไทร หลัก กม.36 ให้เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 3193 ตามทางไปบ้านโป่งน้ำร้อนระยะทาง 12 กม. ผ่านสามแยกทางหลวงหมายเลข 3247 เล็กน้อย จะมีแยกซ้ายมือ
ขอบคุณแหล่งที่มาจาก  http://www.siamfreestyle.com/forum/index.php?showtopic=298